การแจ้งที่พักคนต่างด้าว สำหรับสถานประกอบการ
- หมวด: กฎหมาย
- เผยแพร่เมื่อ: วันเสาร์, 18 สิงหาคม 2561 06:00
- เขียนโดย Super User
- ฮิต: 5248
การแจ้งที่พักคนต่างด้าว สำหรับสถานประกอบการ |
การแจ้งที่พักของคนต่างด้าว ซึ่งตาม พระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 38 ได้กำหนดไว้ว่า"เจ้าบ้าน เจ้าของบ้านหรือผู้ครอบครอง หรือผู้จัดการโรงแรมซึ่งรับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เข้าพักอาศัย จะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่ เคหสถาน หรือโรงแรมนั้นอยู่ ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย"
ถ้าท้องที่ใดไม่มีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่ ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ณ สถานีตำรวจในท้องที่นั้นในกรณีที่บ้าน เคหสถาน หรือโรงแรมที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัยตามวรรคหนึ่ง ตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กองตรวจคนเข้าเมือง การแจ้งตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดในการแจ้งที่พักคนต่างด้าวที่เข้าพักอาศัยในเคหะสถานซึ่งได้แก่ โรงแรมที่ได้รับอนุญาตตาม พระรราชบัญญัติโรงแรมฯและ เกรสเฮ้าส์ แมนชั่น อพาร์ตเม้นท์ หรือเจ้าของบ้านเช่าทั่วๆไป ให้เจ้าของบ้านเช่า หรือผู้เช่าประกอบการแจ้งตามแบบ ตม. 30 ในการดำเนินการแจ้งที่พักของคนต่างด้าวภายใน 24 ชั่วโมงนั้น
|
วิธีที่ 1 นำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นนำเอกสารมาแจ้ง |
นำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นนำเอกสารมาแจ้ง ที่ช่องบริการแจ้งที่พักอาศัย (ตม.30) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ (ตามวันและเวลาราชการ) |
วิธีที่ 2 แจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน |
1. กรอกแบบฟอร์มการแจ้ง พร้อมลงชื่อผู้แจ้งให้เรียบร้อย |
วิธีที่ 3 แจ้งทางอินเตอร์เน็ต (Internet) |
1. มอบหมายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง (ผู้มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์พอสมควร) มาติดต่อ ณ งานแจ้งที่พักอาศัยบุคคลต่างด้าว เพื่อมาสมัครลงทะเบียนขอใช้บริการแจ้งที่พักอาศัยทางอินเตอร์เน็ต และรับคู่มือการปฏิบัติ โดยเตรียมแผ่น CD-R ซึ่งมีความจุอย่างน้อย 700 MB มาด้วยสำหรับบันทึกโปรแกรมสำเร็จรูป (Software) ทั้งนี้ ผู้มาติดต่อขอใช้บริการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น 3. เอกสารที่ใช้ประกอบการลงทะเบียนแจ้งที่พักทางอินเตอร์เน็ต
|
วิธีการกรอกบัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่เข้าพักอาศัย(แบบ ตม.30) |
การกรอกรายละเอียดขอให้ท่านดำเนินการกรอกให้ครบทุกช่อง โดยให้ดูจากหนังสือเดินทางของบุคคลต่างด้าวเป็นหลัก เนื่องจากรายละเอียดของบุคคลต่างด้าว ซึ่งบุคคลต่างด้าวเขียนให้ก่อนเข้าพักอาศัยมักไม่ถูกต้อง และการกรอกให้ใช้วิธีพิมพ์หรือเขียน ถ้าเป็นการเขียนให้เขียนเป็น BLOCK LETTER และมีข้อพึงระวังในการกรอกดังนี้ชื่อคนต่างด้าว ต้องเว้นช่องว่างระหว่าง ชื่อตัว ชื่อกลาง ชื่อสกุล ให้เห็นชัด
พนักงานเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลในแบบ ตม.30 เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่ามีการกรอกข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการรับแจ้งและฉีกแบบ ตม.30 ส่วนล่างให้ผู้แจ้งเก็บรักษาต่อไป |