กรณีขอเข้าเป็นผู้เชี่ยวชาญ

 

กรณีขอเข้าเป็นผู้เชี่ยวชาญ
 
 
การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร(2550) กรณีขอเข้าเป็นผู้เชี่ยวชาญ
เอกสารประกอบการขอมีถิ่นที่อยู่
  1. แบบคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (แบบ ตม.9)
  2. ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลรัฐบาล (ใบรับรองสุขภาพ อายุไม่เกิน 3 เดือน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ)
  3. หนังสือรับรองว่าไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมจากประเทศที่ตนมีภูมิลำเนา โดยผ่านการรับรองจากกงสุลไทยในประเทศนั้น ๆ หรือ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย
  4. สำเนาเอกสารแสดงคุณวุฒิการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี หรือ เทียบเท่าขึ้นไป ผ่านการรับรองจากกงสุล ของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย แปลเป็นภาษาไทยและผ่านการับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ
  5. ใบสมัครงาน และหลักฐานการอนุมัติรับเข้าทำงาน รับรองโดยหน่วยงาน นั้น ๆ
  6. หนังสือรับรองการผ่านงาน หรือ ประสบการณ์การทำงาน
  7. หนังสือรับรองประวัติการทำงานจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน และสำเนาใบอนุญาตทำงาน ทุกเล่ม และทุกหน้า (ถ้ามี)
  8. หนังสือรับรองการทำงานจากหน่วยงานที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ โดยให้ระบุรายละเอียดการทำงาน รายได้ต่อเดือน
  9. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90) ของผู้ยื่นคำขอ พร้อมหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร จำนวน 3 ปีจนถึงปีที่ยื่นคำขอ พร้อมใบเสร็จรับเงิน
  10. สำเนาเอกสารการรับเงินรายได้ต่อเดือนจากหน่วยงานที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ
  11. หนังสือสนับสนุนจากส่วนราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง
  12. หนังสือรับรองจากธนาคาร พร้อมสำเนาบัญชีเงินฝากประจำของผู้ยื่นคำขอ (ถ้ามี)
  13. แผนที่แสดงสถานที่พำนักอาศัย และ สถานที่ทำงาน
  14. สำเนาหนังสือเดินทางที่แสดงว่าได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี (ทุกเล่ม และทุกหน้า)
  15. แบบประวัติบุคคล และแฟ้มระบุรายละเอียดเกี่ยวกับครอบครัว ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์การทำงาน ความสามารถพิเศษ การบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศไทย สถานที่ทำงาน ที่พักอาศัย พร้อมรูปถ่ายประกอบ (ให้ใช้แฟ้มโชว์เอกสาร ขนาด เอ 4)
  16. เอกสารอื่น ๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเรียกเพิ่มเติม
หมายเหตุ

- เอกสารใดเป็นเอกสารส่วนตัว ให้คนต่างด้าวรับรองสำเนาเอง
- เอกสารใดเป็นเอกสารของนิติบุคคล ให้รับรองโดยผู้มีอำนาจลงนามในนิติบุคคลนั้น พร้อมประทับตราสำคัญของบริษัท 
- เอกสารใดเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องแปลเป็นภาษาไทย และรับรองคำแปลโดยระบุรายละเอียด 
ของผู้แปลที่สามารถตรวจสอบได้ และผ่านการรับรองการแปลจากกระทรวงการต่างประเทศ