วันศุกร์, 26 เมษายน 2567
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซด์ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดลพบุรี

วิสัยทัศน์ ผบ.ตร.

การรับแจ้งอยู่ในราชอาณาจักร เกิน 90 วัน

 

การรับแจ้งอยู่ในราชอาณาจักร เกิน 90 วัน
คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวแล้ว ถ้าอยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน คนต่างด้าวผู้นั้นมีหน้าที่ต้องรายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ทุก90 วัน หากท้องที่ใดมีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่จะแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการแห่งนั้น ก็ได้ ทั้งนี้ เป็นไปตาม มาตรา 37(5) แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
วิธีการแจ้ง
  1. คนต่างด้าวแจ้งด้วยตนเองหรือ
  2. คนต่างด้าวมอบหมายให้ผู้อื่นนำหนังสือไปแจ้งหรือ
  3. คนต่างด้าวอาจมีหนังสือแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
  4. คนต่างด้าวสามารถแจ้งที่พักอาศัยได้ ก่อนหรือหลัง 7 วัน นับจากวันครบกำหนด หากเกินกำหนดนัด หรือเกินกำหนดที่จะต้องแจ้งคนต่างด้าวต้องมารายงานตัวด้วยตนเองเพื่อดำเนินการเปรียบเทียบปรับ
  5. กรณีที่เกินกำหนดการแจ้งที่พักอาศัยฯ คนต่างด้าวที่มารายงานตัว จะถูกดำเนินการเปรียบเทียบปรับ 2,000 บาท
  6. กรณีคนต่างด้าวเดินทางออกนอกประเทศก่อนครบกำหนดนัดครั้งต่อไป เมื่อเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ให้มารายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยครั้งต่อไป เมื่อครบกำหนด 90 วัน นับแต่วันเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ครั้งสุดท้าย
สถานที่รับแจ้ง
  1. งานรับแจ้งที่พักอาศัย กองกำกับการ 2 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง1 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ถ.แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ สำหรับคนต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
  2. ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน กองกำกับการ3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 อาคารจัตุรัสจามจุรีสแควร์ ชั้น 18 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ สำหรับคนต่างด้าวที่ทำงานในนิติบคุคคลซึ่งมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท
  3. ด่านตรวจคนเข้าเมืองทุกแห่ง โดยแจ้งตามเขตพื้นที่ที่คนต่างด้าวพักอาศัย
การปฏิบัติเมื่อแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
  1. สำเนาหนังสือเดินทางทุกหน้า(ถึงหน้าที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรครั้งสุดท้าย หรือหน้าที่ได้รับการตรวจลงตราครั้งสุดท้าย)
  2. สำเนาบัตร ตม.6 ขาออก หน้า-หลัง (TM.6)
  3. ใบรับแจ้งการอยู่เกิน 90 วัน (กรณีที่มีการแจ้งอยู่เกิน90 วันมาแล้ว)
  4. กรอกรายละเอียดในแบบ ตม.47 พร้อมลงลายมือชื่อให้เรียบร้อย
  5. ซองจดหมายพร้อมติดแสตมป์ 5 บาท จ่าหน้าซองถึงคนต่างด้าว เพื่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะได้จัดส่งใบนัดส่วนล่างของแบบ ตม.47 เมื่อรับแจ้งอยู่เกิน 90 วัน แล้ว พร้อมแบบ ตม.47 เพื่อใช้แจ้งอยู่เกิน 90 วันในครั้งต่อไป
  6. นำเอกสารตามข้อ 1-5 ใส่ซองและจัดส่งโดยไปรษณีย์ลงทะเบียน ก่อนวันครบกำหนดการแจ้ง(ตามใบนัด) 7 วัน ทั้งนี้คนต่างด้าวจะต้องเก็บหลักฐานการลงทะเบียนไว้ โดยจ่าหน้าซองมาที่

    งานรับแจ้งที่พักอาศัย 
    กองกำกับการ 2 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
    ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารบี
    120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย 7 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10120

    หรือ

    90 Days Report Section
    Immigration Division 1 , Immigration Bureau,
    Chalermprakiat Government Complex B Building
    120 Moo 3 , Chaengwattana Rd., Soi 7, Toongsonghong, Laksi,
    Bangkok. 10210

หมายเหตุ
  • การรับแจ้งที่พักอาศัย กรณีคนต่างด้วอยู่เกิน 90 วัน มิใช่ เป็นการขออยู่ต่อในราชอาณาจักร
  • คนต่างด้าวผู้ใดอยู่เกินกว่า 90 วัน ไม่แจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือแจ้งช้ากว่าที่กำหนด ต้องมารายงานตัวด้วยตนเอง และเสียค่าปรับ จำนวน 2000 บาท หรือคนต่างด้าวถูกจับกุมตัวมาไม่ว่ากรณีใดๆ ต้องเสียค่าปรับ จำนวน 4000 บาท
  • เมื่อคนต่างด้าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เมื่อเดินทางกลับมาให้เริ่มนับเวลา 90 วันใหม่ทุกกรณี

การแจ้งที่พักคนต่างด้าว สำหรับสถานประกอบการ

การแจ้งที่พักคนต่างด้าว สำหรับสถานประกอบการ
การแจ้งที่พักของคนต่างด้าว ซึ่งตาม พระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 38 ได้กำหนดไว้ว่า"เจ้าบ้าน เจ้าของบ้านหรือผู้ครอบครอง หรือผู้จัดการโรงแรมซึ่งรับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เข้าพักอาศัย จะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่ เคหสถาน หรือโรงแรมนั้นอยู่ ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย"

ถ้าท้องที่ใดไม่มีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่ ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ณ สถานีตำรวจในท้องที่นั้นในกรณีที่บ้าน เคหสถาน หรือโรงแรมที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัยตามวรรคหนึ่ง ตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กองตรวจคนเข้าเมือง การแจ้งตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดในการแจ้งที่พักคนต่างด้าวที่เข้าพักอาศัยในเคหะสถานซึ่งได้แก่ โรงแรมที่ได้รับอนุญาตตาม พระรราชบัญญัติโรงแรมฯและ เกรสเฮ้าส์ แมนชั่น อพาร์ตเม้นท์ หรือเจ้าของบ้านเช่าทั่วๆไป ให้เจ้าของบ้านเช่า หรือผู้เช่าประกอบการแจ้งตามแบบ ตม. 30 ในการดำเนินการแจ้งที่พักของคนต่างด้าวภายใน 24 ชั่วโมงนั้น 
สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้กำหนดรูปแบบและวิธีให้บริการเพื่อผู้มาขอรับบริการได้เลือกวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการดังนี้

  • นำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผุ้อื่นนำเอกสารมาแจ้ง หรือ
  • แจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือ
  • แจ้งทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต(Internet)
วิธีที่ 1 นำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นนำเอกสารมาแจ้ง

นำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นนำเอกสารมาแจ้ง ที่ช่องบริการแจ้งที่พักอาศัย (ตม.30) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ (ตามวันและเวลาราชการ)

วิธีที่ 2 แจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

1. กรอกแบบฟอร์มการแจ้ง พร้อมลงชื่อผู้แจ้งให้เรียบร้อย
2. ซองจดหมายขนาด 6.5 x 9 นิ้ว พร้อมติดแสตมป์ 10 บาท จ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง เพื่อส่งใบรับแจ้งของเจ้าหน้าที่คืน
3. นำเอกสารข้อ 1-2 ใส่ซองลงทะเบียน (เก็บใบลงทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน) ส่งตามที่อยู่ ดังนี้
งานแจ้งที่พักอาศัยบุคคลต่างด้าว
กองกำกับการ 2 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง 
เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย 7 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

วิธีที่ 3 แจ้งทางอินเตอร์เน็ต (Internet)

1. มอบหมายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง (ผู้มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์พอสมควร) มาติดต่อ ณ งานแจ้งที่พักอาศัยบุคคลต่างด้าว เพื่อมาสมัครลงทะเบียนขอใช้บริการแจ้งที่พักอาศัยทางอินเตอร์เน็ต และรับคู่มือการปฏิบัติ โดยเตรียมแผ่น CD-R ซึ่งมีความจุอย่างน้อย 700 MB มาด้วยสำหรับบันทึกโปรแกรมสำเร็จรูป (Software) ทั้งนี้ ผู้มาติดต่อขอใช้บริการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

2. สามารถ Download แบบขอใช้บริการแจ้งที่พักอาศัยทางอินเตอร์เน็ตได้ที่ www.immigration.go.th

3. เอกสารที่ใช้ประกอบการลงทะเบียนแจ้งที่พักทางอินเตอร์เน็ต

  1. ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทโดยรับรองสำเนาถูกต้อง
  2. หนังสือมอบอำนาจดำเนินการแทนในการลงทะเบียนรับแจ้งที่พักทาง Internet
  3. สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
  4. กรอกแบบฟอร์มลงทะเบียนที่เจ้าหน้าที่เตรียมไว ้(ดาวน์โหลด)
  5. แผ่น CD เปล่าจำนวน 1 แผ่น
วิธีการกรอกบัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่เข้าพักอาศัย(แบบ ตม.30)

การกรอกรายละเอียดขอให้ท่านดำเนินการกรอกให้ครบทุกช่อง โดยให้ดูจากหนังสือเดินทางของบุคคลต่างด้าวเป็นหลัก เนื่องจากรายละเอียดของบุคคลต่างด้าว ซึ่งบุคคลต่างด้าวเขียนให้ก่อนเข้าพักอาศัยมักไม่ถูกต้อง และการกรอกให้ใช้วิธีพิมพ์หรือเขียน ถ้าเป็นการเขียนให้เขียนเป็น BLOCK LETTER และมีข้อพึงระวังในการกรอกดังนี้ชื่อคนต่างด้าว ต้องเว้นช่องว่างระหว่าง ชื่อตัว ชื่อกลาง ชื่อสกุล ให้เห็นชัด

  • เลขที่หนังสือเดินทาง หากมีตัวหนังสือข้างหน้า หรือข้างหลังตัวเลขให้เขียนลงไปด้วย
  • ช่องบัตรขาเข้าเลขที่ ให้กรอกเลขที่บัตรขาเข้า(บัตร ตม.6) ซึ่งแนบอยู่ในหนังสือเดินทาง โดยกรอกเช่นเดียวกับการกรอกเลขที่หนังสือเดินทาง กล่าวคือ หากมีตัวหนังสือ ให้กรอกตัวหนังสือลงไปด้วย
  • วันเดินทางเข้า หมายถึง วันที่คนต้างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย สำหรับวันที่เข้าพัก ให้กรอกลงในแผ่นหน้าของใบแจ้งรับคนต่างด้าว เข้าพักอาศัย

พนักงานเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลในแบบ ตม.30 เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่ามีการกรอกข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการรับแจ้งและฉีกแบบ ตม.30 ส่วนล่างให้ผู้แจ้งเก็บรักษาต่อไป

กรณีขอเข้ามาเพื่อการลงทุน

 

กรณีขอเข้ามาเพื่อการลงทุน
 
 
การขอมีถิ่นที่อยู่ กรณีขอเข้ามาเพื่อการลงทุน(2550)
เอกสารประกอบการขอมีถิ่นที่อยู่
  1. แบบคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (แบบ ตม.9)
  2. ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาล (ใบรับรองสุขภาพ อายุไม่เกิน 3 เดือน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ)
  3. หนังสือรับรองว่าไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมจากประเทศที่ตนมีภูมิลำเนา โดยผ่านการรับรองจากกงสุลไทยใน ประเทศนั้น ๆ หรือ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย
  4. สำเนาเอกสารรับรองการเป็นครอบครัว ได้แก่ ใบสำคัญการสมรส หรือ ทะเบียนสมรส, ใบสูติบัตร และ สำเนา ทะเบียนบ้าน เป็นต้น ซึ่งหากเป็นเอกสารต่างประเทศให้ผ่านการรับรองเอกสารเช่นเดียวกับ ข้อ 3. และหากเป็นการ จดทะเบียนในประเทศไทย ให้หน่วยงานนั้น ๆ รับรองสำเนา (เฉพาะในกรณีที่มีครอบครัวยื่นคำขอร่วมด้วย)
  5. สำเนาเอกสารแสดงคุณวุฒิการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย แปลเป็นภาษาไทยและผ่านการับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ
  6. ใบสมัครงาน และหลักฐานการอนุมัติให้ทำงาน (ถ้ามี)
  7. หนังสือรับรองประวัติการทำงานจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน สำเนาใบอนุญาตทำงานทุกเล่ม และทุกหน้า (ถ้ามี)
  8. หนังสือรับรองเงินเดือนจากกิจการที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ซึ่งลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนามในกิจการนั้น (ตามแบบที่กำหนด) , ย้อนหลัง 2 ปี (ดาวน์โหลดตัวอย่างหนังสือรับรอง) และ สัญญาการจ้าง (ถ้ามี)
  9. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90) ของผู้ยื่นคำขอ พร้อมหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร จำนวน 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ พร้อมใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี)
  10. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1) ซึ่งรับรองสำเนา โดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร พร้อมใบเสร็จรับเงิน ตั้งแต่ต้นปี จนถึงเดือนก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ (ถ้ามี)
  11. หนังสือรับรองการโอนเงินเข้ามาในราชอาณาจักร จากธนาคารในประเทศไทย เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
  12. หลักฐานการลงทุนในนามของผู้ยื่นคำขอ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ รวมกัน ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ในกรณีดังนี้
    (1) ลงทุนในบริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชนจำกัด ทั้งนี้ ต้องถือครองการลงทุนเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกันนับ แต่วันที่ได้รับอนุญาตให้มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ และต้องยื่นเอกสาร ดังนี้ - หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ และมีอายุไม่เกิน 3 เดือน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ) - บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ และมีอายุไม่เกิน 3 เดือนนับถึงวันที่ยื่นคำขอ) - สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น ภ.พ.01, ภ.พ.09 และ ภ.พ. 20 และสำเนา งบการเงิน(งบดุล งบกำไรขาดทุน) พร้อมแบบ ภ.ง.ด.50 และใบเสร็จรับเงิน จำนวน 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ
    (2) ลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ ห้ามโอนกรรมสิทธิ์, จำนำพันธบัตร หรือ จำนำสิทธิเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกันนับแต่วันที่ได้รับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ และต้องยื่นเอกสาร ดังนี้ - หนังสือรับรองการซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจดังกล่าว จากธนาคารในประเทศไทย - สำเนาพันธบัตรรัฐบาล หรือ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจดังกล่าว และต้องนำต้นฉบับมาแสดงด้วย
    (3) ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นกู้ หรือ หน่วยลงทุน ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติ หรือ รับรอง จากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ห้ามโอนหุ้น, โอนกรรมสิทธิ์, จำนำหลัก ทรัพย์ หรือ จำนำสิทธิเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกันนับแต่วันที่ได้รับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ และต้องยื่นเอกสาร ดังนี้ - หนังสือรับรองการซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าว และหลักฐานการลงทุนดังกล่าว พร้อมต้นฉบับมาแสดง
  13. แผนที่แสดงสถานที่พำนักอาศัย และ สถานที่ทำงาน
  14. สำเนาหนังสือเดินทางที่แสดงว่าได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี (ทุกเล่ม และทุกหน้า)
  15. แบบประวัติบุคคล และแฟ้มระบุรายละเอียดเกี่ยวกับครอบครัว ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์การทำงาน ความสามารถพิเศษ การบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศไทย สถานที่ทำงาน ที่พักอาศัย พร้อมรูปถ่ายประกอบ (ให้ใช้แฟ้มโชว์เอกสาร ขนาด เอ 4)
  16. เอกสารอื่น ๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเรียกเพิ่มเติม
หมายเหตุ

- เอกสารใดเป็นเอกสารส่วนตัว ให้คนต่างด้าวรับรองสำเนาเอง
- เอกสารใดเป็นเอกสารของนิติบุคคล ให้รับรองโดยผู้มีอำนาจลงนามในนิติบุคคลนั้น พร้อมประทับตราสำคัญของบริษัท
- เอกสารใดเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องแปลเป็นภาษาไทย และรับรองคำแปลโดยระบุรายละเอียด 
ของผู้แปลที่สามารถตรวจสอบได้ และผ่านการรับรองการแปลจากกระทรวงการต่างประเทศ

รายละเอียดการขอมีถิ่นที่อยู่

 

รายละเอียดการขอมีถิ่นที่อยู่
 
 

คำแนะนำและรายละเอียดสำหรับการยื่นคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (ในโควต้าประจำปี) 
คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ 

1. ต้องถือหนังสือเดินทางของประเทศที่ตนเองถือสัญชาติอยู่ในปัจจุบัน และต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (NON-IMMIGRANT 
VISA) พร้อมกับได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปีมาแล้ว รอบเวลาการพำนักอยู่ไม่น้อยกว่า 3 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ 
2. เหตุผลในการยื่นคำขอ เช่น 
(1) ขอเข้ามาเพื่อการลงทุน 
(2) ขอเข้ามาเพื่อทำงาน
(3) ขอเข้ามาเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรม แบ่งเป็น มีความสัมพันธ์กับบุคคลสัญชาติไทย หรือ มีความสัมพันธ์กับบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่แล้ว ได้แก่
- เป็นสามี – ภรรยา 
- เป็นบิดา – มารดา
- เป็นบุตรอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่ยังไม่สมรส 
(4) ขอเข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญ 
(5) กรณีพิเศษเฉพาะราย 

กำหนดวันเปิดรับคำขอ 
หลังจากกระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศกำหนดจำนวนคนต่างด้าวที่จะเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี และได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจึงจะสามารถออกประกาศเปิดรับคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปีได้ และจะสิ้นสุดการเปิดรับคำขอฯ ในวันทำการสุดท้ายของปีนั้น ซึ่งสามารถสอบถามวันเปิดรับคำขอและรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารประกอบคำขอได้ที่ กองกำกับการ 1 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมืองกรุงเทพมหานคร สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ห้อง 301 ชั้น 3) ซอยสวนพลู ถนนสาทรใต้ กรุงเทพมหานคร 10120 โทร. 0-2287-3117 หรือ ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองส่วนภูมิภาค และเมื่อเปิดรับคำขอแล้ว คนต่างด้าวจะต้องไปยื่นคำขอด้วยตนเอง พร้อมเอกสารประกอบตามประเภทการยื่นคำขอ และให้นำหนังสือเดินทางฉบับจริงทุกเล่มมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย

ขั้นตอนการดำเนินการหลังจากรับคำขอแล้ว 
เจ้าหน้าที่จะประทับตราอนุญาตให้อยู่รอฟังผลการพิจารณา ครั้งแรก 180 วัน ครั้งต่อไป ครั้งละ 180 วัน จนกว่าจะทราบผลการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง 
รับใบนัดหมายให้คนต่างด้าว และผู้เกี่ยวข้องมาสัมภาษณ์ โดยจะมีการทดสอบความสามารถพูดภาษาไทย และฟังภาษาไทย เข้าใจได้ ( คนต่างด้าวจะต้องมาตรงตามวันที่นัดหมาย หากไม่มาตามที่นัดหมายโดยไม่มีเหตุผลอันควร จะถือว่าสละสิทธิ์การยื่นคำขอดังกล่าว ) 
คนต่างด้าวที่มีอายุกว่าสิบสี่ปี (นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ) จะต้องได้รับการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนี้
(1) พิมพ์ลายนิ้วมือคนต่างด้าวดังกล่าว ส่งไปตรวจประวัติที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร เพื่อตรวจสอบว่ามีประวัติกระทำผิดในประเทศไทยหรือไม่
(2) ตรวจสอบหนังสือเดินทางจากระบบบัญชีเฝ้าดู (BLACK LIST) ว่าเป็นบุคคลต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 หรือไม่
(3) ตรวจสอบว่าเป็นบุคคลที่มีหมายจับต่างประเทศ (หมายแดง) จากกองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือไม่ 

การพิจารณา 
พิจารณาโดยคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง ประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทย, กระทรวงการต่างประเทศ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม, สำนักงานอัยการสูงสุด, คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, สภาความมั่นคงแห่งชาติ, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 
หลักเกณฑ์การพิจารณาจะคำนึงถึง รายได้ สินทรัพย์ ความรู้ ความสามารถในด้านวิชาชีพ และฐานะในครอบครัวของคนต่างด้าวกับบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย เงื่อนไขเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ บุคลิกภาพ สุขภาพ ความเข้าใจภาษาไทย และเงื่อนไขอื่นๆ ตามความเหมาะสมที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และนโยบายของรัฐบาล 
ระยะเวลาในการพิจารณาแต่ละปีมีกำหนดระยะเวลาไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับนโยบายของคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง และกระทรวงมหาดไทย 

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด 
ค่าธรรมเนียมสำหรับการยื่นคำขอ คนละ 7,600 บาท (เจ็ดพันหกร้อยบาทถ้วน) - จะได้รับอนุญาตหรือไม่ก็ตาม เงินค่าธรรมเนียมจะไม่คืนให้ 
หากได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ ค่าธรรมเนียมใบสำคัญถิ่นที่อยู่ ฉบับละ 191,400 บาท (หนึ่งแสนเก้าหมื่นหนึ่งสี่ร้อยบาทถ้วน) สำหรับคนต่างด้าวที่เป็นคู่สมรส หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของคนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือ ของบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย ฉบับละ 95,700 บาท (เก้าหมื่นห้าพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน) 
หมายเหตุ : อัตราค่าธรรมเนียมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามกฎหมายได้ ซึ่งหากเปลี่ยนแปลงก็จะต้องชำระค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายใหม่กำหนด

หมายเหตุ 
- เอกสารใดเป็นภาษาต่างประเทศต้องแปลเป็นภาษาไทยโดยระบุรายละเอียดของผู้แปลที่สามารถตรวจสอบได้และรับรองการแปล โดยกระทรวงการต่างประเทศ
- เอกสารนี้ใช้เป็นแนวทางการดำเนินการเบื้องต้นเท่านั้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และสภาพเศรษฐกิจ สังคม ในปัจจุบัน

คำเตือน การแสดงเอกสาร หรือ ข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา


กรณีขอเข้ามาเพื่อทำงาน

 

กรณีขอเข้ามาเพื่อทำงาน
 
 
การขอมีถิ่นที่อยู่ กรณีขอเข้ามาเพื่อทำงาน (2550)
เอกสารประกอบการขอมีถิ่นที่อยู่
  1. แบบคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (แบบ ตม.9)
  2. ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลรัฐบาล (ใบรับรองสุขภาพ อายุไม่เกิน 3 เดือน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ)
  3. หนังสือรับรองว่าไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมจากประเทศที่ตนมีภูมิลำเนา โดยผ่านการรับรองจากกงสุลไทยในประเทศนั้น หรือผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย (เฉพาะผู้ยื่นคำขอที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไป)
  4. สำเนาเอกสารรับรองการเป็นครอบครัว ได้แก่ ใบสำคัญการสมรส, ทะเบียนสมรส (คร.2), ใบสูติบัตร และ สำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น ซึ่งหากเป็นเอกสารต่างประเทศให้ผ่านการรับรองเอกสารเช่นเดียวกับ ข้อ 3. และหากเป็นการจดทะเบียนใน ประเทศไทย ให้หน่วยงานนั้น ๆ รับรองสำเนา (เฉพาะในกรณีที่มีครอบครัวยื่นคำขอร่วมด้วย)
  5. สำเนาเอกสารแสดงคุณวุฒิการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย แปลเป็นภาษาไทยและผ่านการับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ
  6. ใบสมัครงาน และหลักฐานการอนุมัติรับเข้าทำงาน ประทับตราบริษัทฯ และผู้มีอำนาจลงนามรับรอง
  7. หนังสือรับรองประวัติการทำงานจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน และสำเนาใบอนุญาตทำงานทุกเล่ม และทุกหน้า
  8. หนังสือรับรองเงินเดือนจากกิจการที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ซึ่งลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนามในกิจการนั้น (ตามแบบที่กำหนด) , ย้อนหลัง 2 ปี (ดาวน์โหลดตัวอย่างหนังสือรับรอง) และ สัญญาการจ้าง
  9. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90) ของผู้ยื่นคำขอ พร้อมหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร จำนวน 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ พร้อมใบเสร็จรับเงิน
  10. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1) ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร ตั้งแต่ต้นปี จนถึง เดือนก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ พร้อมใบเสร็จรับเงิน
  11. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ และมีอายุไม่เกิน 3 เดือน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ)
  12. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ จำนวน 3 ปีก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ
  13. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น และหากผู้ยื่นคำขอถือหุ้นตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ให้แนบบัญชีผู้ถือหุ้นย้อนหลัง 3 ปี มาแสดงด้วย (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ และมีอายุไม่เกิน 3 เดือนนับถึงวันที่ยื่นคำขอ)
  14. สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น ภ.พ.01, ภ.พ.09 และ ภ.พ. 20
  15. สำเนางบการเงิน(งบดุล งบกำไรขาดทุน) พร้อมแบบ ภ.ง.ด.50 และใบเสร็จรับเงิน จำนวน 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรอง สำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร
  16. หนังสือธนาคารรับรองการส่งออกสินค้าในรอบ 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ (เฉพาะกิจการที่มีการส่งออกสินค้า)
  17. หนังสือรับรองการนำนักท่องเที่ยวเข้ามาในรอบ 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว (เฉพาะกิจการท่องเที่ยว)
  18. นิติบุคคลใด ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ให้สำเนาบัตรส่งเสริม หรือ เอกสารที่แสดงว่าได้รับการส่งเสริมด้วย
  19. แผนที่แสดงสถานที่พำนักอาศัย และ สถานที่ทำงาน
  20. สำเนาหนังสือเดินทางที่แสดงว่าได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี (ทุกเล่ม และทุกหน้า)
  21. แบบประวัติบุคคล และแฟ้มระบุรายละเอียดเกี่ยวกับครอบครัว ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์การทำงาน ความสามารถ พิเศษ การบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศไทย สถานที่ทำงาน ที่พักอาศัย พร้อมรูปถ่ายประกอบ (ให้ใช้แฟ้มโชว์เอกสาร ขนาด เอ 4)
  22. เอกสารอื่น ๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเรียกเพิ่มเติม
หมายเหตุ

- เอกสารใดเป็นเอกสารส่วนตัว ให้คนต่างด้าวรับรองสำเนาเอง
- เอกสารใดเป็นเอกสารของนิติบุคคล ให้รับรองโดยผู้มีอำนาจลงนามในนิติบุคคลนั้น พร้อมประทับตราสำคัญของบริษัท 
- เอกสารใดเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องแปลเป็นภาษาไทย และรับรองคำแปลโดยระบุรายละเอียด 
ของผู้แปลที่สามารถตรวจสอบได้ และผ่านการรับรองการแปลจากกระทรวงการต่างประเทศ

วิสัยทัศน์ สำนักงานตรวจแห่งชาติ